จิตวิทยาการเทรดถือเป็นปัจจัยด้านอารมณ์พื้นฐานที่นักเทรดจะต้องเจอตลอดในกระบวนการตัดสินใจการเทรด สำหรับนักเทรดที่เชี่ยวชาญแล้วส่วนมากจะใช้ประสบการณ์ก่อนหน้าที่พวกเขาสั่งสมมาจัดการกับอารมณ์ของพวกเขา แต่หากคุณเป็นมือใหม่ในการเทรดฟอเร็กซ์ คุณอาจจะเจอความท้าทายนี้ได้
ความกลัวและความโลภถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ แต่อย่างไรก็ตามเรามีวิธีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์ของคุณได้ แค่ลองอ่านบทความนี้ คุณก็สามารถเริ่มฝึกจิตวิทยาการลงทุนได้แล้ว
จิตวิทยาการเทรดถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณเทรดฟอเร็กซ์ได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจัยนี้สำคัญเทียบเท่ากับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะต่าง ๆ แต่ก็ยังถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของนักเทรดทุกคน และนี่คือ 3 อุปสรรคที่คุณจะพบเจอและวิธีที่คุณจะรับมือ :
1. ความกลัว
ความกลัวหรือความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่รู้ถือเป็นเรื่องปกติในการเทรด ไม่ว่าจะเป็นหลังจากการเข้าเทรดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น หรือหากทำอะไรผิดพลาด หรือแม้แต่ว่าคุณมีภาพผลลัพธ์ในหัวแล้ว แต่ก็ยังไม่มีอะไรการันตีความสำเร็จได้ เพราะการไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอาจนำไปสู่ความกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเทรดด้วยเงินจำนวนมาก
คุณจะรับมืออย่างไร?
วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะรับมือกับความกลัวนั่นคือเทรดด้วยวิธีทางของคุณและตั้งจำนวนที่คุณสามารถจะขาดทุนได้ ด้วยการทำแบบนี้คุณจะตระหนักได้ว่ามีแค่จำนวนเงินส่วนหนึ่งเท่านั้นที่คุณกำลังรับความเสี่ยงอยู่ก่อนเข้าการเทรด จะช่วยลดความไม่แน่นอนจากกระบวนการเทรดได้ โดยทุก ๆ ครั้งที่คุณเข้าการเทรด คุณควรจะบอกตัวคุณเองเสมอว่าคุณอาจจะสูญเสียเงินได้และต้องเตรียมพร้อมกับสิ่งนี้ อย่าสูญเสียเงินเกินจากจำนวนที่เตรียมไว้ !
อีกวิธีหนึ่งที่จะรับมือกับความกลัวนี่ได้คือการเทรดในจำนวนที่พอดี เพราะเมื่อคุณเทรดในจำนวนที่มากเกินไป จะยิ่งทำให้คุณกลัวที่จะสูญเสียเงินจำนวนมาก หรือแม้แต่จะล้างพอร์ตก็ตาม ดังนั้นควรเริ่มเทรดจากจำนวนน้อยและค่อย ๆ ฝึกฝนเพิ่มจำนวนการเทรดที่มากขึ้น และอย่าลืมใช้เวลาในการทบทวนกลยุทธ์การเทรดด้วย ไม่ควรเร่งรีบเพิ่มการเทรดไปทุกเดือน และจำเป็นที่จะต้องเพิ่มจาก 200 หุ้นเป็น 2,000 หุ้น โดยทันที
2. การกลัวตกเทรนด์ (FOMO)
การกลัวตกกระแสถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งดี ๆ โดยเมินเฉยสัญญาณการลงทุนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ถูก ขณะที่คุณเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ แม้ว่าพวกเขาจะเสี่ยงที่จะทำแบบนั้น แต่คุณก็อยากจะทำตาม ยิ่งเห็นนักลงทุนคนอื่นประสบความสำเร็จยิ่งมาก ยิ่งเร่งให้คุณทำตามโดยไม่คิด ซึ่งนี้เป็นผลว่าทำไม FOMO ถึงน่ากลัว
คุณจะรับมืออย่างไร ?
อีกวิธีหนึ่งที่คุณจะรับมือกับ FOMO นั่นก็คือคุณต้องตั้งกฎระเบียบของตัวเอง คุณสามารถเริ่มด้วยการเขียนบันทึกการเทรดซึ่งจะเป็นที่ที่คุณบันทึกข้อมูลการเทรดของคุณ การมีบันทึกของการเทรดในอดีตจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรต่อในอนาคตโดยอ้างอิงจากความสำเร็จและล้มเหลวในอดีต และมากไปกว่านั้นคุณสามารถสร้าง “กฎการลงโทษ” ตัวอย่างเช่น หากคุณไม่ทำตามกฎ คุณจะต้องลงโทษตัวเอง ด้วยการไม่เทรดอีกตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ยังมีการคัดลอกการเทรด ถือเป็นการกลยุทธ์การจัดการพอร์ตโฟลิโออีกรูปแบบหนึ่งที่คุณสามารถคัดลอกความสำเร็จนักเทรดคนอื่นและติดตามผลงานของพวกเขา หากคุณจะลองการคัดลอกการเทรดให้จำไว้ว่าต้องเลือกคนตามให้ดี ๆ อย่าเลือกเพราะตามคนอื่น โดยคุณสามารถลอง Share4you มีระบบผลตอบรับบนหน้าเพจของนักเทรดแต่ละคน และสามารถอ่านรีวิวนักเทรดแนวหน้า (ผู้นำเทรด) และคุณสามารถค่อย ๆ เลือกได้ว่าต้องการจะตามใคร
3. ความโลภ
ความโลภถือเป็นเหรียญอีกด้านของความกลัว แม้ว่าจะคล้ายกับความกลัวตกกระแส แต่ความโลภนั้นจะโฟกัสไปที่ภาพกว้างมากกว่าที่จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนเล็ก ๆ ของตลาด ข่าวเศรษฐกิจ การเมือง หรือการเงินที่ดีจะถูกมองว่าเป็นข่าวที่ดีมาก ๆ แต่ขณะที่ข่าวร้ายจะถูกเมินเฉยไป จะทำให้คุณคุ้นชินกับการเพิ่มราคาของสินทรัพย์ขึ้นและคุณเองก็จะละเลยกับสัญญาณสำคัญ ๆ ของข่าวร้าย ต้องพึ่งระลึกไว้เสมอว่าการที่พยายามจะทำกำไรให้ได้มากที่สุดนั่นคือหนทางที่จะนำไปสู่การขาดทุน
คุณจะรับมืออย่างไร ?
วิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะรับมือกับความโลภได้ก็เหมือนกับการรับมือกับความกลัว โดยการพยายามตั้งเป้าหมายที่คุณจะทำกำไรไว้ เมื่อเทรดสำเร็จ และคุณรู้ว่าถึงเวลาที่จะทำกำไรแล้ว ลองฝึกวินัยตัวเองด้วยการตามแผนการเทรดของคุณอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคุณรู้ว่าจะรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างไรแล้ว คุณก็จะมีความสามารถที่จะหยุดการขาดทุนและปกป้องผลกำไรของคุณได้
เหนือสิ่งอื่นใด เคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้คุณเก่งจิตวิทยาการเทรดได้ คือการที่ควบคุมอารมณ์ของคุณ และอย่าลืมที่จะตั้งสติใจเย็น ๆ อย่าให้ความรู้สึกคุณชี้นำการลงทุนของคุณ
การเทรดฟอเร็กซ์มีความเสี่ยงต่อเงินลงทุนของคุณ โปรดอ่านและทำความเข้าใจกับข้อมูลความเสี่ยงของเราก่อน