Excerpt: คุณเคยสงสัยไหมว่า Relative Strength Index (RSI) มีวิธีการใช้งานอย่างไร? ด้วยคู่มือสำหรับมือใหม่จาก Forex4you เกี่ยวกับ RSI คุณจะได้เรียนรู้วิธีการใช้ RSI หลายวิธี
Relative Strength Index (RSI) เป็น 1 ในตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่เทรดเดอร์ Forex ตัว RSI นั้นเป็น Oscillator และสามารถพบได้ในชุดมาตรฐานของเทอมินอลการเทรดหลัก ๆ รวมไปถึง Forex4you RSI มี 1 เส้น ซึ่งช่วยระบุความแข็งแกร่งของแนวโน้มปัจจุบันของตราสารการเทรด (สินทรัพย์) รวมไปถึงจุดที่เป็นไปได้ของการพลิกกลับ RSI เปรียบเทียบค่าสัมบูรณ์ของการเติบโตของราคาคู่ค่าเงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กับระดับการร่วงลงของราคาในช่วงเวลาเดียวกัน ผลของการคำนวณดังกล่าวจะแสดงเป็นเส้นโค้งบนแผนภูมิที่มีช่วงของค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100%
วิธีการอ่านและใช้พารามิเตอร์ RSI
ตัวชี้วัด RSI มีตัวแปรตัวเดียว นั่นก็คือตัวเลขของระยะเวลาที่ตัวชี้วัดมองย้อนกลับไป ช่วงเวลาเริ่มต้นที่ตั้งค่าไว้คือ 14 ค่าของช่วงเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เทรดเดอร์ควรตระหนักไว้ว่า ระหว่างที่ตลาดเกิดความผันผวน เมื่อตัวชี้วัดโค้งผ่านระดับ 30% และ 70% ส่วนใหญ่แล้วจะสร้างสัญญาณหลอก เพื่อกำจัดสัญญาณหลอกดังกล่าว ช่วงของ RSI อาจเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มค่าไปถึง 21 เทรดเดอร์ควรใช้ช่วงเวลาที่สั้นกว่าเมื่อตลาดเกิดความผันผวนต่ำ ดังนั้น สัญญาณตัวชี้วัดจึงเกิดขึ้นได้ยากมาก ในสถานการณ์เช่นนี้ เทรดเดอร์สามารถลดช่วงเวลาของ RSI ไปที่ 7 สัญญาณการเทรดหลักของตัวชี้วัด RSI คือ สัญญาณกลับตัว (ความแตกต่างของพฤติกรรมราคาของคู่ค่าเงินกับค่าที่อ่านได้จากตัวชี้วัด) ถ้าราคาสร้างจุดสูงสุดที่สูงขึ้น 2 จุด และตัวชี้วัด RSI วาดจุดสูงสุดที่ต่ำลง 2 จุดในเวลาเดียวกัน แสดงว่าแนวโน้มขาขึ้นอ่อนกำลังลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการพลิกกลับของแนวโน้มปัจจุบัน หรือการเคลื่อนไหวเพื่อปรับฐานที่อาจเกิดขึ้นได้ในทิศทางตรงกันข้าม แนวโน้มขาลงก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน
วิธีการใช้ Relative Strength Index (RSI)
Welles Wilder ซึ่งเป็นผู้สร้าง RSI พิจารณาถึงความจริงที่ว่า ไม่ช้าก็เร็ว ราคาจะเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพราะราคาคู่เทรดสามารถเข้าสู่โซนซื้อมากเกิน (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) ด้วยเหตุผลนี้ ระดับที่สำคัญที่สุดของตัวชี้วัด RSI คือ ระดับ 30 และ 70 ถ้าค่าของ RSI อยู่ระหว่าง 70 และ 100 เป็นเวลานาน ราคาคู่ค่าเงินนั้นจะถือว่าเกิดการซื้อมากเกินไป ดังนั้น จึงค่อนข้างเป็นไปได้ที่จะเกิดการพลิกกลับ หมายความว่าระดับ RSI ที่ 70 และสูงกว่านั้นถือว่าเป็นโซนซื้อมากเกินไป ดังนั้น ค่า RSI ใด ๆ จาก 0 ถึง 30 จะถือว่าเป็นโซนขายมากเกินไป ซึ่งหมายความว่าราคาต่ำเกินไปและสามารถพลิกขึ้นได้ เทรดเดอร์ควรพิจารณาเข้าสู่ตลาดเมื่อ RSI ออกจากโซนขายมากเกินไป หรือซื้อมากเกินไป
วิธีอื่น ๆ ในการใช้ RSI
การวิเคราะห์รูปแบบกราฟฟิกบนแผนภูมิ RSI
ค่อนข้างบ่อยครั้งที่รูปแบบกราฟฟิก (สามเหลี่ยม ธงสามเหลี่ยม “หัวและไหล่” และอีกมากมาย) เกิดขึ้นบนแผนภูมิตัวชี้ RSI ในขณะที่อาจไม่พบในแผนภูมิราคา การตีความรูปแบบกราฟฟิกนั้นก็เหมือนกับการตีความบนแผนภูมิราคา
การวิเคราะห์ระดับแนวรับและแนวต้าน RSI
ระดับแนวรับและแนวต้านสามารถตรวจเจอได้บนแผนภูมิ RSI ได้ง่ายกว่าในแผนภูมิราคา การตีความระดับแนวรับและแนวต้านนั้นไม่แตกต่างจากการตีความแบบดั้งเดิม การฝ่าแนวล้อมหรือกระเด้งจากระดับดังกล่าวนั้นอาจให้สัญญาณการเทรดที่ดี เช่น การฝ่าระดับแนวรับของตัวชี้วัด RSI เกิดก่อนการฝ่าระดับแนวรับบนแผนภูมิราคานั้น เป็นการเตือนเทรดเดอร์ว่าจะเกิดการพลิกกลับของแนวโน้มเร็ว ๆ นี้
การวิเคราะห์ตำแหน่งเส้นในระดับกลางของ RSI (อยู่ที่ 50)
ถ้าแผนภูมิ RSI เหนือว่าเส้นกลาง แสดงว่าจะมีแนวโน้มขาขึ้นในตลาด หากแผนภูมิตัวชี้วัดอยู่ต่ำกว่าเส้นกลาง แสดงว่าแนวโน้มในตลาดเป็นแบบขาลง ถ้า RSI ผันผวนในพื้นที่เส้นกลาง หมายความว่าตลาดไม่มีแนวโน้ม ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปวิธีการหลัก ๆ ในการใช้ RSI ถ้าคุณมีคำถามเกี่ยวกับ Relative Strength Index (RSI) คุณสามารถโพสต์คำถามที่คุณสงสัยได้ข้างล่างนี้ และเราจะติดต่อกลับไปหาคุณ สำหรับบทเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรดเงินคริปโต หรือการเทรด Forex คุณสามารถเข้าเว็บไซต์ของ Forex4you เพื่อเข้าถึงบทเรียน เนื้อหาการเรียนก รสอน เครื่องมือการ เทรด และอื่น ๆ