Excerpt: คุณเป็นมือใหม่ในการเทรด Forex และไม่รู้ว่าการวิเคราะห์พื้นฐานคืออะไรหรือเปล่า? เรียนรู้หลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์พื้นฐานด้านการเงินไปกับ Forex4you
คำว่า “การวิเคราะห์พื้นฐานด้านการเงิน” มีความหมายว่าอะไร? คำนี้หมายถึง การวิเคราะห์หรือการประเมินแถลงการณ์ทางการเงินของธุรกิจ สุขภาพทางการเงิน รวมไปถึงคู่แข่ง และตลาดทางการเงิน เมื่อนำมาใช้กับตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือตลาด Forex การวิเคราะห์นี้จะพิจารณาไปถึงสถานะโดยรวมของเศรษฐกิจ และปัจจัยต่าง ๆ รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ย การผลิต รายรับ การจ้างงาน GDP การผลิต และการจัดการ เมื่อนำการวิเคราะห์มาใช้กับหุ้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสกุลเงินทั่วโดยใช้การวิเคราะห์พื้นฐาน มีวิธีการเบื้องต้น 2 วิธีที่คุณสามารถใช้ได้ นั่นก็คือ การวิเคราะห์จากล่างขึ้นบน หรือการวิเคราะห์จากบนลงล่าง คำศัพท์นี้ทำให้การวิเคราะห์นั้นแตกต่างจากประเภทอื่น ๆ ของการวิเคราะห์ด้านการลงทุน เช่น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ทางเทคนิค ในขณะที่การวิเคราะห์พื้นฐานด้านการเงินดำเนินการโดยใช้ข้อมูลในอดีตและข้อมูลปัจจุบัน เป้าหมายคือการคาดการณ์ทางการเงิน นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอีก 4 ประการในการดำเนินการวิเคราะห์พื้นฐานของการเงิน ดังนี้
-
เพื่อดำเนินการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัท และคาดการณ์ผลลัพธ์ราคาที่เป็นไปได้
-
เพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัท
-
เพื่อกำหนดการจัดการ และการตัดสินใจภายในบริษัท
-
เพื่อคำนวณ ความเสี่ยงด้านเครดิต.
ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ช่วยในการกำหนดมูลค่าที่แท้จริงซึ่งเป็นตัวเลขสำหรับสินทรัพย์ที่สามารถเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบว่ามีการประเมินที่สูงเกินไป หรือประเมินต่ำเกินไป
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์พื้นฐาน
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์คือ การกำหนดว่าจะซื้อตราสารทางการเงินใด และในราคาเท่าไร อย่างไรก็ตาม มีวิธีการพื้นฐาน 2 วิธีที่จะทำให้การวิเคราะห์สำเร็จ นั่นก็คือการวิเคราะห์พื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งวิธีการแรกนั้นมักจะ (บังเอิญ) ตรงกันข้ามกับวิธีการที่ 2
การวิเคราะห์พื้นฐานยืนยันว่า ตลาดอาจปรับราคาหลักทรัพย์ในระยะสั้น แต่ตลาดจะไปแตะที่ราคาที่ "ถูกต้อง" ในที่สุด ผลกำไรสามารถสร้างได้โดยการเทรดหลักทรัพย์ที่ประเมินมูลค่าพลาด และรอให้ตลาดรับรู้ถึง "ความผิดพลาด" และตั้งราคาสินทรัพย์อีกครั้ง
การวิเคราะห์ทางเทคนิคยืนยันว่า ข้อมูลทั้งหมดนั้นสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นอยู่แล้ว แนวโน้ม “เป็นมิตรของคุณ” อารมณ์เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ และแนวโน้มที่คาดการณ์ก็เปลี่ยนแปลง การตอบสนองด้านอารมณ์ของนักลงทุนต่อการเคลื่อนไหวของของราคาส่งผลให้รูปแบบแผนภูมิราคาเป็นที่จดจำ การวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่สนใจว่า “มูลค่า” ของหุ้นเป็นเท่าไร การคาดการณ์ราคานั้นก็เป็นเพียงแค่การคาดเดาจากรูปแบบราคาในอดีตเท่านั้น
เทรดเดอร์สามารถใช้วิธีการเดียว หรือทั้ง 2 วิธีเพื่อการเทรดหุ้น ทั้งการวิเคราะห์พื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นถือว่าเป็นคู่แข่งกัน และนักลงทุนต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว ถ้าหากใช้อย่างเหมาะสม การวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อนักลงทุนที่มองหาโอกาส เช่น เทรดเดอร์ที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการเทรดใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อเลือกจุดเข้าและออกเทรด ในทางกลับกัน เทรดเดอร์ที่ใช้เทคนิคในการเทรดก็ใช้การวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อจำกัดกลุ่มหุ้นที่เป็นไปได้ให้กับบริษัทที่ “ดี”
ตัวเลือกของการวิเคราะห์หุ้นนั้นถูกกำหนดโดยความเชื่อของนักลงทุนในกระบวนทัศน์ที่แตกต่างกันสำหรับ "กระบวนการทำงานของตลาดหุ้น" การวิเคราะห์พื้นฐานนั้นรวมไปถึง:
-
การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
-
การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
-
การวิเคราะห์บริษัท
มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นจะถูกกำหนดด้วยพื้นฐานของการวิเคราะห์พื้นฐานทั้ง 3 ประเภทนี้ หรือกล่าวคือ นี่ถือเป็นมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น หากมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด ก็ควรซื้อหุ้น ถ้ามูลค่าที่แท้จริงเท่ากับราคาตลาด ก็ควรถือหุ้นไว้ และถ้าน้อยกว่าราคาตลาด ก็ควรขายหุ้น