หากโรคระบาดระดับโลกครั้งนี้ทำให้คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเงินของคุณ ไม่ใช่คุณเพียงคุณคนเดียวที่รู้สึกแบบนี้อีกหลายๆคนก็รู้สึกด้วยเช่นกัน
ยังมีผู้คนอีกมากมายทั่วโลกที่ใช้เวลานี้วางแผนทางการเงินของพวกเขาในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Schroders Global Investor Study 2021 ส่วนมากจะเป็นผู้คนในเอเชียโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบคำถามที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ จากประเทศไทย (91%) อินโดนีเชีย (88%) และอินเดีย (88%)
แน่นอนว่าในการระบาดของโรคร้ายครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
เรามี 3 วิธีในการเตรียมความพร้อมทางการเงินของคุณเพื่อคุณสามารถรับมือกับโรคระบาดครั้งถัดไป
ประเมินสถานะทางการเงินของคุณ
หากคุณยังไม่ได้เริ่มทำ ปีใหม่นี้ถือเป็นฤกษ์ที่ดีที่คุณจะเพิ่มความมั่นคงให้กับการเงินของคุณ ด้วยการวิเคราะห์สินทรัพย์ หนี้สิน รายจ่ายต่อเดือน ว่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายพื้นฐานของคุณหรือไม่
การตั้งเป้าหมายทางการเงินที่เหมาะสมกับตัวคุณ และกำหนดงบประมาณขึ้นมา โดยเขียนรายจ่ายประจำเดือน รวมถึงค่าผ่อนบ้าน ค่าประกัน ค่าน้ำค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากนั้นลองแบ่งประเภทรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น เพื่อให้คุณสามารถเห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สำคัญได้อย่างชัดเจนและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะลดรายจ่ายส่วนไหนที่ไม่สำคัญออกไป ตัวอย่างเช่น คุณจำเป็นต้องสมัครทั้ง Netflix รวมถึงบริการช่องทีวีอื่น ๆ หรือไม่ ?
ควรระวังไว้เสมอว่า งบประมาณของคุณที่ตั้งไว้ควรจะพร้อมรับมือกับวิกฤติต่าง ๆ ในกรณีถ้าหากคุณสูญเสียรายได้รับคุณควรมีเงินพอที่จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้
การแบ่งค่าใช้จ่ายสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด เพราะคุณไม่รู้หรอกว่าเมื่อไหร่ที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นตัวอย่างเช่น ตู้เย็นของคุณจะเสียกระทันหันหรือต้องซ่อมผนังก็เป็นได้
คุณยังสามารถอ่านบทความหรือโพสต่าง ๆ เกี่ยวกับเคล็ดลับในการวางแผนการเงินและการบริหารความมั่งคั่ง เพื่อเพิ่มเติมความรู้และเคล็ดลับทางการเงินได้อีกด้วย
เคล็ดลับพิเศษ !
การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิตของคุณออกไปพยายามบริโภคและใช้ของที่จำเป็นต่อชีวิตเท่านั้นเพื่อลดการฟุ่มเฟือย เมื่อความต้องการเราน้อยลง เราก็จะใช้จ่ายน้อยลงเช่นกัน
ติดตามค่าใช้จ่ายของคุณ
เมื่อคุณมีเป้าหมายของงบประมาณที่ตั้งไว้ในใจแล้ว คุณก็แค่ดำเนินการตามเป้าหมายของคุณ
ในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือดิจิตอลมากมายที่จะช่วยให้คุณติดตามและควบคุมค่าใช้จ่ายประจำวันและรายเดือนได้ เช่น Seedly, Zenmoney, Monny, และ Expensify
เคล็ดลับพิเศษ !
การเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายของคุณ เมื่อคุณกำหนดงบประมาณในแต่ละเดือนของคุณได้แล้ว
แต่ถ้าคุณยังไม่ปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายของคุณเลยเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ การควบคุมค่าใช้จ่ายของคุณในแต่ละเดือนก็ไม่มีประโยชน์
เพิ่มเงินทุนสำรองฉุกเฉิน
หนึ่งบทเรียนที่โรคระบาดครั้งนี้สอนพวกเราคือ สิ่งที่ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นและเปลี่ยแปลงโลกได้เพียงชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น
การมีเงินทุนสำรองฉุกเฉินถือว่าสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากคุณอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาด ซึ่งนักวางแผนทางการเงินส่วนมากแนะนำว่าควรมีแหล่งเงินทุนสำรองที่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตอย่างน้อย 3 - 6 เดือน
ถ้าหากงานประจำคุณมีรายได้ที่ลดลงเล็กน้อย คุณอาจจะลองมาทำงานเสริมที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับคุณได้และเพิ่มเงินทุนสำรองของคุณ ตัวอย่างเช่น การขายงานฝีมือออนไลน์ หรือการเขียนบล็อกอาหารอาจจะสร้างรายได้ให้กับคุณไม่น้อย หรือคุณอาจลองเป็นนักเทรดมือสมัครเล่นก็เป็นได้
หากคุณยังเป็นมือใหม่ในโลกแห่งการลงทุน คุณอาจจะลองแอปพลิเคชั่น Forex4you ที่จะช่วยให้คุณเริ่มเทรดได้ง่าย ๆ พร้อมด้วยฟังก์ชั่นมากมาย รวมถึงขั้นตอนพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การเปิดออเดอร์และปิดออเดอร์ การสร้างคำสั่งซื้อ คุณยังสามารถแก้หรือเปลี่ยนแปลงกราฟส่วนตัวของคุณพร้อมทั้งติดตามหุ้นที่คุณชื่นชอบได้อีกด้วย
Fore4you มีบริการบัญชีทั้งหมด 5 ประเภทให้คุณเลือก รวมไปถึงบัญชีทดลองใช้ที่คุณสามารถทดลองเทรด ตัวเลือกนี้ถือว่าเหมาะสมสำหรับมือใหม่ เพราะคุณไม่จำเป็นต้องลองเงินจริง แต่ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการเทรดในตลาดจริง
Forex4you มีให้บริการตราสารกว่า 150 ตัวเลือก ทั้งค่าเงิน หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และคริปโตเคอเรนซี่ เป็นต้น
แพลตฟอร์มการเทรดสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งบนมือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์ และรับรองทั้งระบบ Android และ Apple Mac OS
เคล็ดลับพิเศษ !
ตลาดการเงินที่มีความผันผวนสูง และไม่สามารถการันตีผลตอบแทนได้ ดังนั้นคุณควรเข้าใจในความเสี่ยงและแบ่งเงินที่ใช้ลงทุนเป็นบางส่วนของเงินที่คุณจะยังไม่ใช่ในอนาคตอันใกล้ นี้ ซึ่งจะทำให้คุณถือครองสินทรัพย์ได้จนกระทั่งสินทรัพย์ที่คุณเลือกถือไว้ทำกำไรได้แล้ว
การเทรดฟอเร็กซ์มีความเสี่ยงสูงต่อเงินลงทุนของคุณ โปรดอ่านและทำความเข้าใจกับข้อมูลความเสี่ยงของเราก่อน