• ร่วมเป็นพาร์เนอร์
  • 02-0260692
  • การรู้จักวิธีระบุแนวรับและแนวต้านจะช่วยให้เทรดเดอร์ Forex เข้าตลาดที่มีความเป็นไปได้สูงด้วยความเสี่ยงที่ดีเพื่อเพิ่มสัดส่วนสร้างรายได้ เราได้แบ่งวิธีการเทรดด้วยระดับแนวรับและแนวต้านออกเป็น 2 แนวคิด นั่นคือ การเด้ง (Bounce) และการฝ่า (Break)

    เส้นแนวรับ (Support Line) และเส้นแนวต้าน (Resistance Line): ผู้ซื้อ (Bull) และ ผู้ขาย (Bear)

    ความจริงแล้ว เส้นแนวรับและแนวต้านเป็นการแสดงทางกราฟฟิกของการแข่งขันระหว่างผู้ซื้อ (Bull) และผู้ขาย (Bear) ผู้ซื้อจะดันราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่ผู้ขายจะกดราคาให้ต่ำลง ผลที่ออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับทิศทางที่ราคาเคลื่อนไหว ระดับแนวรับ (Support) คือ ระดับที่ผู้ซื้อควบคุมราคา และป้องกันไม่ให้ราคาตกไปมากกว่านี้ ส่วนระดับแนวต้าน (Resistance) คือ ระดับที่ผู้ขายควบคุมราคา ถ้าราคาเหมาะสมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คุณก็จะเทรดได้ ระดับแนวรับจะสะท้อนราคาที่ให้ความหวังกับนักลงทุนว่าราคาจะเพิ่มขึ้น ส่วนระดับแนวต้านนั้นตรงกันข้าม ตรงที่จะแสดงราคาที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะลดลง การจะเทรดเพื่อหยุด และเทรดเพื่อฝ่าอย่างถูกต้องนั้น สิ่งสำคัญคือต้องระบุได้ว่าราคานั้นเกี่ยวพันกับระดับแนวรับ หรือระดับแนวต้าน เมื่อราคาแตะถึงระดับ มีสถานการณ์ 3 แบบที่อาจเกิดขึ้น:

    • ราคาฝ่าระดับออกไป และขยับต่อไป

    • ราคาฝ่าระดับออกไป แต่ย้อนกลับมา สร้างการร่วงของราคาแบบหลอก

    • ราคาทดสอบระดับ และสะท้อนกลับ

    วิธีการเทรดแบบเด้ง (Bounce Trading Method)

    การเด้ง (Bounce):

    เป็นวิธีการเทรดที่ระดับแนวรับและแนวต้านเกิดขึ้นทันทีหลังการเด้ง เทรดเดอร์ Forex รายย่อยหลายรายทำพลาดในการกำหนดคำสั่งไปที่ระดับแนวรับและแนวต้านโดยตรง แล้วก็แค่รอให้การเทรดเกิดขึ้น
    วิธีการนี้อาจใช้ได้ในบางครั้ง แต่วิธีการเทรดวิธีนี้จะคาดคะเนว่า ระดับแนวรับหรือแนวต้านจะไม่ขยับโดยไม่มีราคาใดมาแตะ เมื่อเทรดด้วย “การเด้ง” คุณต้องหาโอกาสเป็นไปได้ที่ดีต่อคุณ และหาการยืนยันบางอย่างที่แนวรับหรือแนวต้านจะถือไว้ได้
    เช่น แทนที่จะดำเนินการคำสั่งซื้อ คุณต้องรอให้ราคาเด้งก่อนจะเข้าตลาด ถ้าคุณมองหาโอกาสขาย คุณต้องรอจนกว่าคู่ค่าเงินที่เทรดเด้งออกจากแนวต้านก่อนเข้าตลาด การทำเช่นนี้ คุณจะสามารถสร้างหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ราคาของคู่ค่าเงินเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและฝ่าระดับแนวรับและแนวต้านไปได้

    วิธีการเทรดแบบฝ่า (Break Trading Method)

    การฝ่า (Break):

    ในตลาด Forex ระดับแนวรับและแนวต้านจะไม่อยู่กับที่ไปตลอด อย่างไรก็ตาม คุณสามารถกระโดดเข้าและออกตอนที่ราคาแตะระดับแนวรับและแนวต้านสำคัญ ๆ และสร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ ความจริงแล้ว ระดับแนวรับและแนวต้านนั้นถูกฝ่าบ่อยมาก ดังนั้น การเทรดด้วย “การเด้ง” เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ คุณควรมีประสบการณ์ด้วยว่าจะทำอย่างไรเมื่อระดับแนวรับและแนวต้านไม่ได้ผล

    มีวิธีการเทรดแบบฝ่า 2 วิธีในการเทรด Forex นั่นก็คือ วิธีรุนแรง และ วิธีดั้งเดิม

    วิธีรุนแรง:

    คือ วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะฝ่าออกไป เพื่อซื้อหรือขายเมื่อราคาสามารถฝ่าระดับแนวรับหรือแนวต้าน คุณเพียงแค่ต้องเข้าตลาดเมื่อราคาฝ่ายระดับแนวรับหรือแนวต้านที่สำคัญเท่านั้น

    วิธีดั้งเดิม:

    คือ ถ้าการขายเพียงพอ และการชำระตำแหน่งการขาดทุนเกิดขึ้นที่ระดับแนวต้านที่ถูกฝ่า ราคาของคู่ค่าเงินจะพลิกกลับ และเริ่มร่วงลงอีกครั้ง นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ระดับแนวรับที่ถูกฝ่ากลายเป็นระดับแนวต้านทุกครั้งที่ถูกฝ่า การได้กำไรจากสถานการณ์นี้ขึ้นอยู่กับความอดทน แทนที่จะเข้าตลาดเมื่อระดับถูกฝ่า ก็รอจนกว่าราคาจะดึงกลับมาที่ระดับแนวรับหรือแนวต้านที่ถูกฝ่า และเข้าตลาดเมื่อราคาเด้ง

    เส้นแนวโน้ม Forex 3 ประเภท

    เส้นแนวโน้มขาขึ้นจะถูกวาดไปตามขอบล่างของพื้นที่แนวรับที่สามารถระบุได้ง่าย ในขณะที่แนวโน้มขาลงนั้น เส้นแนวโน้มจะถูกวาดไปตามขอบด้านบนของพื้นที่แนวต้านที่สามารถระบุได้ง่าย มีแนวโน้มทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน คือ:

    • แนวโน้มขาขึ้น (จุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม)

    • แนวโน้มขาลง (จุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำว่าจุดสูงสุดเดิม)

    • ไม่มีแนวโน้ม (ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ)

    การวาดกรอบแนวโน้ม (Channel) 3 ประเภท

    ในการวาดกรอบแนวโน้มขาขึ้น (Ascending Channel) นั้น คุณแค่วาดเส้นขนานในมุมเดียวกัน เพื่อแสดงเส้นแนวโน้มขาขึ้น จากนั้นขยับเส้นนั้นไปที่ตำแหน่งที่แตะยอดซึ่งเกิดขึ้นล่าสุด และการวาดกรอบแนวโน้มขาลง (Descending Channel) นั้น คุณต้องวาดเส้นขนานในมุมเดียวกัน เพื่อแสดงเส้นแนวโน้มขาลง จากนั้นขยับเส้นนั้นไปที่ตำแหน่งที่แตะตำแหน่งที่ลงต่ำที่สุดล่าสุด

    • กรอบแนวโน้มขาขึ้น (จุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าเดิม และจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม)

    • กรอบแนวโน้มขาลง (จุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำว่าจุดสูงสุดเดิม และจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม)

    • กรอบแนวขวาง (ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ)

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง