วิธีการใช้จุดสร้างกำไร (Take Profit) และ จุดหยุดขาดทุน (Stop Loss)
จากมุมมองทางเทคนิคแล้ว จุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) และจุดสร้างกำไร (Take Profit) ขึ้นอยู่กับระดับแนวรับและแนวต้านที่แข็งแกร่ง สำหรับการเทรดตามแนวโน้ม ระดับแนวรับ/แนวต้าน คือเส้นแนวโน้ม สำหรับการเทรดตามราคาคงที่ (Flat Trading) ระดับแนวรับ/แนวต้านคือ ขอบของกรอบราคา (Channel)
การทำความเข้าใจนั้นใช้ตรรกะง่าย ๆ นั่นก็คือ ระดับแนวรับหรือแนวต้านที่แข็งแกร่ทำให้แตกได้ยากมาก และความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกระเด้งกลับนั้นสูง ดังนั้น การกำหนดจุดหยุดขาดทุนควรจะตั้งไว้ที่ระดับราคาสูงสุด (ขั้นต่ำ) ก่อนหน้านี้ในกรณีที่เป็นการฝ่าวงล้อมปลอม ถ้าระดับแนวรับ (แนวต้าน) ถูกทำให้แตก ความต่อเนื่องของแนวโน้มที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เปิดไว้ก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน จุดทำกำไร คือการคาดการณ์เรื่องราคาที่จะไต่ไปถึงระดับถัดไป (ขอบของกรอบราคา)
หลักการเดียวกันของการวางจุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไรนั้นถูกใช้ในการเทรดทุกประเภท คุณสามารถระบุแนวรับและแนวต้านที่แข็งแกร่งได้ด้วยตัวเอง (จุดต่ำสุดหรือสูงสุดก่อนหน้า) หรือใช้ตัวชี้วัด (Indicator) เช่น จุดกึ่งกลาง (Pivot Points) และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) เป็นต้น
วิธีการคำนวณระดับจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) และ จุดทำกำไร (Take Profit)
โดยพื้นฐานแล้ว ขนาดของจุดหยุดขาดทุน (Stop-Loss) ก็คือจำนวนที่เทรดเดอร์ยอมเสี่ยงในการเปิดการเทรด ตามหลักการจัดการเงินแล้ว ระดับความเสี่ยงที่แนะนำคือ 1-2% ของเงินฝากของธุรกรรมใด ๆ ก็ตาม เช่น ถ้าเทรดเดอร์ฝากเงิน $10,000 เทรดเดอร์จะตั้งค่าความเสี่ยงไว้สูงสุดที่ 2% ดังนั้น การขาดทุนที่เกิดจากการเทรดใดก็ตามไม่ควรเกิน 10,000 x 0.02 = $200 จากนั้น เทรดเดอร์ควรประเมินความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของจุดหยุดขาดทุน ราคาของ 1 pip และปริมาณของตำแหน่งการเทรด เทรดเดอร์ได้คำนวณไว้ว่า สำหรับตำแหน่งในช่วงเวลาที่มีจุดหยุดขาดทุนควรอยู่ที่ 25 pips จากจุดเข้าเทรด ราคาของ 1 pip คือ 200:25 = 8 ดอลลาห์ เมื่อพิจารณาว่าราคา 1 pip คือ 10 ดอลลาห์สำหรับตำแหน่งขนาดล็อตมาตรฐาน 1 ล็อต เทรดเดอร์ก็จะได้ขนาดตำแหน่งที่เหมาะสมที่ 0.8 ล็อต เทรดเดอร์ควรจำไว้เสมอว่า มีค่าสเปรด (Spread) ซึ่งต้องเพิ่มเข้าไปในคำสั่งจุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไรด้วย