ตัวชี้วัดทุกตัวคำนวณโดยการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ที่ตายตัว ซึ่งใช้ราคาหรือไม่ก็ปริมาณการเทรดของตราสารทางการเงิน การใช้ตัวชี้วัดนั้น เทรดเดอร์จะสร้างระบุการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น และราคากลางของทิศทางราคาได้
นอกจากนี้ ตัวชี้วัดยังทำให้เทรดเดอร์รู้ข้อมูลต่อไปนี้:
-
ระดับแนวรับและแนวต้าน (ใช้ Moving Average, Bolling Bands และ Envelops เป็นต้น)
-
สภาพของตลาดปัจจุบัน: มีแนวโน้ม หรือไม่เปลี่ยนแปลง (ใช้ Moving Average, Parabolic และ Ichimoku เป็นต้น)
-
ความแข็งแกร่งของแนวโน้ม หรือโมเมนตัมของแนวโน้ม ถ้าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น หมายความว่าแนวโน้มกำลังเติบโต และควรเข้าตลาดตามทิศทางของแนวโน้ม ถ้าตัวชี้วัดลดลง หมายความว่าเทรดเดอร์เริ่มเสียดอกเบี้ยในตราสารทางการเงิน และการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มอาจเริ่มในไม่ช้า (ตัวชี้วัด Momentum)
-
ปริมาณการเทรด (เพิ่มขึ้น/กระจาย), มีปริมาณสมดุล เป็นต้น)
ตัวชี้วัด Forex (Forex Indicator) ประเภทต่าง ๆ
ตัวชี้วัด Forex มีหลายประเภท เช่น Volatility, Trend, Momentum, Strength และอีกมากมาย ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ถูกจัดเข้ากลุ่มตัวชี้วัดหลังเกิดแนวโน้ม (Lagging Indicator) ไม่ก็กลุ่มตัวชี้วัดก่อนเกิดแนวโน้ม (Leading Indicator)
ตัวชี้วัดหลังเกิดแนวโน้ม (Lagging Indicator) จะเป็นไปตามแนวโน้ม และมักถูกเรียกว่าตัวชี้วัดแนวโน้ม (Trend Indicator) ซึ่งค่อนข้างชี้แนวโน้มของราคาได้ต่ำ ตัวชี้วัดหลังเกิดแนวโน้มที่นิยมและใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ Moving Average และ Bollinger Bands ลักษณะหลักของตัวชี้วัดหลังเกิดแนวโน้มคือ ทำงานได้ดีในตลาดที่มีแนวโน้ม
ตัวชี้วัดก่อนเกิดแนวโน้ม (Leading Indicator) มักถูกเรียกว่าเป็น Oscillator (ตัวชี้การแกว่งของราคา) ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้เพื่อคาดการณ์การพลิกกลับของแนวโม แน่นอนว่าเครื่องมือนี้ไม่สามารถวิ่งได้เร็วกว่าการเคลื่อนไหวของราคา และลักษณะข้อมูลใหม่ในตลาด กล่าวคือ แสดงแค่การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างตรงไปตรงมา ซึ่งช่วยให้คุณมีโอกาสทำนายพฤติกรรมของตลาดในอนาคต Oscillator มักให้สัญญาณหลอกมากกว่าตัวชี้วัดแนวโน้ม สำหรับ Oscillator ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ Stochastics และ RSI
Simple Moving Average (SMA)
หนึ่งในตัวชี้วัดแนวโน้มที่ง่ายที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ Simple Moving Average (SMA) หรือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย เมื่อดูในกราฟ จะมีรูปร่างเหมือนเส้น ที่เปรียบเทียบราคาปัจจุบัน (ราคาปิด ราคาเปิด เป็นต้น) กับราคาในอดีตในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ (มูลค่าโดยเฉลี่ย) สามารถใช้เป็นเส้นชี้แนวโน้มได้ แต่นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่ตัวชี้วัดสามารถนำไปใช้ได้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทเรียน “พฤติกรรมของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่”
ตัวชี้วัด Bollinger Bands
ตัวชี้วัด Bollinger Bands แสดงความผันผวนได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตัวชี้วัดนี้ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น ดังนี้
-
Simple Moving Average (SMA 20 วัน)
-
แถบด้านบน: SMA 20 + (ค่าคาดเคลื่อนมาตรฐาน X2)
-
แถบด้านล่าง: SMA 20 – (ค่าคาดเคลื่อนมาตรฐาน X2)
Bollinger Band เป็นตัวชี้วัดความผันผวนที่ดีที่สุดซึ่งสามารถลดขนาด หรือขยายขนาดได้อย่างเป็นวงจร แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของราคาเป็นรูปคลื่น หลังจากกรอบราคาแต่ละกรอบลดขนาดลง การขยายตัวจะเกิดขึ้น และราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น หลังจากที่กรอบราคาแคบลงแต่ละครั้ง สิ่งที่ควรทำคือการรอให้กรอบราคาขยายตัว
ตัวชี้วัดแนวโน้ม Forex: Parabolic SAR
Parabolic SAR (หยุดและพลิกกลับ) คือ ตัวชี้วัดแนวโน้ม ซึ่งใช้ในการสังเกตการพลิกกลับของราคา ตัวชี้วัด Parabolic SAR ให้สัญญาณที่สามารถอธิบายได้ดังนี้
การยืนยันแนวโน้ม:
-
ถ้าตำแหน่งของตัวชี้วัดอยู่ใต้กราฟราคา ตัวชี้วัดจะยืนยันว่ามีแนวโน้มขาขึ้น
-
ถ้าตำแหน่งของตัวชี้วัดอยู่เหนือกราฟราคา ตัวชี้วัดจะยืนยันว่ามีแนวโน้มจาลง
ความหมายของสถานการณ์ของตำแหน่งปิดราคา Forex
-
ถ้าราคาลงไปต่ำกว่าตัวชี้วัดในแนวโน้มขาขึ้น ควรปิดตำแหน่งการซื้อ
-
ถ้าราคาขึ้นไปสูงกว่าตัวชี้วัดในแนวโน้มขาลง ควรเปิดตำแหน่งการขาย
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำงานของตัวชี้วัด Forex
ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับเทรดเดอร์ การจะเริ่มใช้ตัวชี้วัดใด ๆ นั้น อันดับแรกคือต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร และใช้ทำอะไร ถ้าเทรดโดยอิงตามตัวชี้วัดแนวโน้มของสภาพตลาด ควรใช้ตัวชี้วัดปริมาณ หรือ Oscillator เมื่อคุณเข้าใจตัวชี้วัด Forex เป็นอย่างดี ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มใช้แล้ว ที่ Forex4you คุณสามารถเข้าถึงตัวชี้วัด Forex ยอดนิยมได้ทั้งหมดเพื่อให้การเทรดของคุณประสบความสำเร็จ