วิธีการใช้ MT4 Android Tablet App (ตอน 2)
ถอดความวิดีโอ
วิธีการใช้ MT4 Android Tablet App (ตอน 2)
ถ้าเรากลับไปที่หน้าต่างแสดงแผนภูมิแล้วเลือกปุ่ม “คำสั่งใหม่” (New Order) ที่มุมบนขวาของหน้าจอ เราจะเข้าสู่หน้าจอแสดงการเทรดที่มีคู่ค่าเงินอยู่ข้างบน ใต้คู่ค่าเงินนั้นมีตัวเลือกประเภทการจัดการ และขนาดของปริมาณ เมื่อคุณต้องการส่งคำสั่งเทรด คุณต้องเลือกประเภทของคำสั่งที่คุณต้องการเทรด ซึ่งมีประเภทคำสั่ง 5 ประเภท ดังนี้
ก่อนที่คุณจะส่งการเทรด พิจารณาข้อความใต้ขนาดของปริมาณการเทรดก่อน หากดูจากบนลงล่าง ถ้าเป็นในกรณีของคำสั่งล่วงหน้า (Pending Order) คุณจะเห็น “ราคา” (Price) “จุดขาดทุน” (Stop Loss) “จุดทำกำไร” (Take Profit) และ “วันหมดอายุ” (Expiration) ถ้าเป็นในกรณีคำสั่งดำเนินการทันที (Instant Execution) คุณจะเห็น “จุดขาดทุน” “จุดทำกำไร” และ “ค่าความเบี่ยงเบน” (Deviation) สำหรับตัวเลือก “ราคา” นั้น คือราคาที่คุณต้องการให้คำสั่งล่วงหน้าของคุณดำเนินการ และเป็นราคาที่คุณเปิดการซื้อขาย (Entry Price) อย่าลืมว่าไม่ว่าราคาที่คุณเปิดจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ราคาที่ซื้อขายทันที (Spot Price) จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าที่คุณได้เลือกไว้แล้ว เมื่อคุณแตะตัวเลือก “ราคา” แป้นคีย์บอร์ดจะปรากฎขึ้นให้คุณใส่ราคาที่คุณต้องการให้คำสั่งของคุณดำเนินการ
ตัวเลือก “การกำหนดจุดขาดทุน” (Stop Loss) และ “การกำหนดจุดทำกำไร” (Take Profit) ก็ใช้วิธีการเดียวกัน เพียงแตะบริเวณที่ต้องการแล้วแป้นคีย์บอร์ดจะปรากฏขึ้น การขยับราคาของคุณขึ้น-ลง 1 pip สามารถทำได้โดยการแตะที่ปุ่ม “+” หรือ “-”
คุณสามารถเลือกใช้ “วันหมดอายุ” (Expiration) กับคำสั่งล่วงหน้าที่คุณวางไว้ได้โดยการแตะที่ตัวเลือก “วันหมดอายุ” และตั้งวันที่โดยใช้คอลัมน์ 4 คอลัมน์ เมื่อคุณตั้งวันที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม “ส่ง” (Place) เพื่อส่งคำสั่งของคุณ
ถ้าคุณส่ง “คำสั่งดำเนินการทันที” (Instant Execution) แทน “คำสั่งล่วงหน้า” (Pending Order) ก็จะหมายความว่าคุณส่งคำสั่งให้ดำเนินการตามราคาตลาด ในกรณีนี้คุณจะไม่เห็นพื้นที่ของ “ราคา” (Price) (เพราะราคาที่คุณเปิดการซื้อขายเป็นราคาซื้อขายทันที) แต่คุณจะยังคงเห็นพื้นที่ของ “จุดขาดทุน” (Stop Loss) และ “จุดทำกำไร” (Take Profit) ซึ่งทั้ง 2 จุดนี้ทำหน้าที่เหมือนเดิมเมื่อคุณส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า เพียงแค่แตะบริเวณที่คุณต้องการและวางจุดขาดทุน และจุดทำกำไร สำหรับพื้นที่ตัวเลือกของ “ค่าความเบี่ยงเบน” (Deviation) คุณจะสามารถตั้งค่าความเบี่ยงเบนสูงสุดสำหรับการเทรดได้ เพียงแค่คุณแตะบริเวณที่ต้องการและตั้งค่าว่าจะให้คำสั่งของคุณมีเบี่ยงเบนจากราคาที่คุณเลือกไว้ได้กี่ pips (ให้สอดคล้องหรือตรงข้ามกับคุณก็ได้) ก่อนที่คุณไม่ต้องการให้คำสั่งดำเนินการเลย
ที่ด้านล่างของหน้าต่าง คุณจะเห็นปุ่ม “ขาย” สีแดง และปุ่ม “ซื้อ” สีน้ำเงิน เมื่อคุณแตะปุ่มใดปุ่มหนึ่ง คำสั่งของคุณจะถูกดำเนินการ แล้วคุณจะเห็นรายละเอียดของคำสั่งของคุณปรากฏขึ้นที่ด้านบนของเพจทันทีพร้อม ๆ กับราคาที่คุณเปิดเข้าตลาด
ถ้าเรากลับไปที่หน้าต่างแสดงแผนภูมิแล้วเลือกปุ่ม “คำสั่งใหม่” (New Order) ที่มุมบนขวาของหน้าจอ เราจะเข้าสู่หน้าจอแสดงการเทรดที่มีคู่ค่าเงินอยู่ข้างบน ใต้คู่ค่าเงินนั้นมีตัวเลือกประเภทการจัดการ และขนาดของปริมาณ เมื่อคุณต้องการส่งคำสั่งเทรด คุณต้องเลือกประเภทของคำสั่งที่คุณต้องการเทรด ซึ่งมีประเภทคำสั่ง 5 ประเภท ดังนี้
- คำสั่งดำเนินการทันที (Instant Execution): คำสั่งซื้อหรือขายตามราคาในตลาด
- คำสั่งตั้งราคาซื้อต่ำกว่าราคาปัจจุบัน (Buy limit): คำสั่งล่วงหน้าเพื่อดำเนินการตั้งราคาซื้อด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
- คำสั่งตั้งราคาซื้อสูงกว่าราคาปัจจุบัน (Buy Stop) : คำสั่งล่วงหน้าเพื่อดำเนินการตั้งราคาซื้อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
- คำสั่งตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาปัจจุบัน (Sell Stop) : คำสั่งล่วงหน้าเพื่อดำเนินการตั้งราคาขายด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
- คำสั่งตั้งราคาขายสูงกว่าราคาปัจจุบัน (Sell Limit) : คำสั่งล่วงหน้าเพื่อดำเนินการตั้งราคาขายด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
ก่อนที่คุณจะส่งการเทรด พิจารณาข้อความใต้ขนาดของปริมาณการเทรดก่อน หากดูจากบนลงล่าง ถ้าเป็นในกรณีของคำสั่งล่วงหน้า (Pending Order) คุณจะเห็น “ราคา” (Price) “จุดขาดทุน” (Stop Loss) “จุดทำกำไร” (Take Profit) และ “วันหมดอายุ” (Expiration) ถ้าเป็นในกรณีคำสั่งดำเนินการทันที (Instant Execution) คุณจะเห็น “จุดขาดทุน” “จุดทำกำไร” และ “ค่าความเบี่ยงเบน” (Deviation) สำหรับตัวเลือก “ราคา” นั้น คือราคาที่คุณต้องการให้คำสั่งล่วงหน้าของคุณดำเนินการ และเป็นราคาที่คุณเปิดการซื้อขาย (Entry Price) อย่าลืมว่าไม่ว่าราคาที่คุณเปิดจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ราคาที่ซื้อขายทันที (Spot Price) จะขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าที่คุณได้เลือกไว้แล้ว เมื่อคุณแตะตัวเลือก “ราคา” แป้นคีย์บอร์ดจะปรากฎขึ้นให้คุณใส่ราคาที่คุณต้องการให้คำสั่งของคุณดำเนินการ
ตัวเลือก “การกำหนดจุดขาดทุน” (Stop Loss) และ “การกำหนดจุดทำกำไร” (Take Profit) ก็ใช้วิธีการเดียวกัน เพียงแตะบริเวณที่ต้องการแล้วแป้นคีย์บอร์ดจะปรากฏขึ้น การขยับราคาของคุณขึ้น-ลง 1 pip สามารถทำได้โดยการแตะที่ปุ่ม “+” หรือ “-”
คุณสามารถเลือกใช้ “วันหมดอายุ” (Expiration) กับคำสั่งล่วงหน้าที่คุณวางไว้ได้โดยการแตะที่ตัวเลือก “วันหมดอายุ” และตั้งวันที่โดยใช้คอลัมน์ 4 คอลัมน์ เมื่อคุณตั้งวันที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม “ส่ง” (Place) เพื่อส่งคำสั่งของคุณ
ถ้าคุณส่ง “คำสั่งดำเนินการทันที” (Instant Execution) แทน “คำสั่งล่วงหน้า” (Pending Order) ก็จะหมายความว่าคุณส่งคำสั่งให้ดำเนินการตามราคาตลาด ในกรณีนี้คุณจะไม่เห็นพื้นที่ของ “ราคา” (Price) (เพราะราคาที่คุณเปิดการซื้อขายเป็นราคาซื้อขายทันที) แต่คุณจะยังคงเห็นพื้นที่ของ “จุดขาดทุน” (Stop Loss) และ “จุดทำกำไร” (Take Profit) ซึ่งทั้ง 2 จุดนี้ทำหน้าที่เหมือนเดิมเมื่อคุณส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า เพียงแค่แตะบริเวณที่คุณต้องการและวางจุดขาดทุน และจุดทำกำไร สำหรับพื้นที่ตัวเลือกของ “ค่าความเบี่ยงเบน” (Deviation) คุณจะสามารถตั้งค่าความเบี่ยงเบนสูงสุดสำหรับการเทรดได้ เพียงแค่คุณแตะบริเวณที่ต้องการและตั้งค่าว่าจะให้คำสั่งของคุณมีเบี่ยงเบนจากราคาที่คุณเลือกไว้ได้กี่ pips (ให้สอดคล้องหรือตรงข้ามกับคุณก็ได้) ก่อนที่คุณไม่ต้องการให้คำสั่งดำเนินการเลย
ที่ด้านล่างของหน้าต่าง คุณจะเห็นปุ่ม “ขาย” สีแดง และปุ่ม “ซื้อ” สีน้ำเงิน เมื่อคุณแตะปุ่มใดปุ่มหนึ่ง คำสั่งของคุณจะถูกดำเนินการ แล้วคุณจะเห็นรายละเอียดของคำสั่งของคุณปรากฏขึ้นที่ด้านบนของเพจทันทีพร้อม ๆ กับราคาที่คุณเปิดเข้าตลาด